วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๘
ที่มา: สมาคมสร้างคุณค่าให้ประเทศไทย .คู่มือแนะนำธรรมเบื้องต้น .หลักธรรม ๑0 โลก .สมาคมสร้างคุณค่าให้ประเทศไทย
 หน้า ๒๘-๓๘
สาระสำคัญ

หลักธรรม ๑0 โลก ประกอบด้วย
. โลกนรก ในพุทธธรรมได้กล่าวไว้ว่าความโกรธแค้นคือ นรก  กล่าวคือ โลกนรกใช้เรียกสภาพชีวิตที่เป็นทุกข์ซึ่งอยู่ต่ำที่สุด
.โลกเปรต ในพุทธธรรมได้กล่าวไว้ว่าความโลภคือเปรต ความโลภใช้กล่าวถึงสภาพชีวิตที่อดอยากเนื่องจากมีความอยากปรารถนาไม่รู้จักพอ
.โลกเดรัจฉาน ในพุทธธรรมได้กล่าวไว้ว่าความโง่เขลาคือเดรัจฉาน ความโง่เขลาใช้เรียกชีวิตเหมือนกับสัตว์ที่กระทำไปตามสัญชาตญาณโดยไม่ใช้เหตุผล
.โลกอสุระ ในพุทธธรรมได้กล่าวไว้ว่า ประจบสอพลอคือ อสุระ  ประจบสอพลอ เป็นสภาพจิตใจที่บิดเบี้ยว ไม่สามารถยอมรับผู้ที่เหนือกว่าตนเอง เกิดจิตใจอิจฉาริษยาและพยายามขัดขว้างผู้นั้น
.โลกมนุษย์ ในพุทธธรรมได้กล่าวไว้ว่า ความสงบราบเรียบคือมนุษย์
โลกมนุษย์เป็นสภาพชีวิตที่สงบเงียบเหมาะสมกับความเป็นมนุษย์
. โลกเทวะ ในพุทธธรรมได้กล่าวไว้ว่า ความปีติยินดีคือ เทวะ โลกเทวะเป็นความปีติยินดีของชีวิตเป็นสภาพที่พึงพอใจสมตามความอยากความปรารถนาต่างๆ
.โลกสาวก ในพุทธธรรมได้กล่าวไว้ว่า เดิมทีหมายถึงได้ฟังเสียงของพระพุทธะแล้วถ่ายทอดมีที่มาจากคำว่าลูกศิษย์
.โลกปัจเจก เป็นสภาพชีวิตที่ได้ไปสัมพันธ์กับอะไรบางอย่างแล้วสามารถตระหนักรู้ในกฎเกณฑ์ของชีวิตและของจักรวาลเพียงบางส่วน
.โลกโพธิสัตว์ คือ สภาพชีวิตที่สูงกว่าทวิยาน โลกโพธิสัตว์ใช้เรียกสภาพชีวิตที่ให้ความสำคัญกับความเมตตาต่อผู้อื่น เพื่อผู้อื่นแล้วไม่เสียดายความเหน็ดเหนื่อย และเป็นสภาพของการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น ซึ่งพยายามมอบสิ่งดีๆ ให้กับชีวิตของคนอื่น
๑๐.โลกพุทธะ คือสภาพชีวิตที่สูงสุดของมนุษย์ คงจะมีผู้คนมากมายที่ได้ยินคำว่า โลกพุทธะเป็นครั้งแรก โลกพุทธะใช้เรียกการทำงานของชีวิตที่เปลี่ยนแต่ละโลกของชีวิตใน 9 โลกที่กล่าวมาข้างต้น คือ ตั้งแต่โลกนรกไปถึงโลกโพธิสัตว์ ให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สร้างสรรค์ ทิศทางที่มีคุณค่าสูงสุด เป็นการทำงานของ ชีวิตที่ใสสะอาดแข็งแกร่งที่สุด





บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๘
ที่มา: คมกฤษณ์  ติณจิณดา .โลกดาราศาสตร์และอวกาศ ม.ปลาย .ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับแผนดินไหว.บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ จำกัด
 หน้า ๒๒-๒๓
สาระสำคัญ

การสั่นสะเทือนของแผนดินไหวถูกทอดจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในรูปของคลื่นเสียงนอกจากนี้ส่วนที่อยู่บนผิวโลกซึ่งตรงกับต้นกำเนิดแผ่นดินไหวพอดีนั้น เรียกว่า .
จุดเหนือศูนย์กลางแผนดินไหว

หินสามารถเคลื่อนตัวได้ถ้ามีแรงดันตามขอบแยกบนผิวโลก นอกจากนี้ในกรณีที่เกิดแรงสะสมตัวมากๆหินจะเคลื่อนตัวทันที ทำให้ปล่อยแรงสะสม ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งหนึ่ง

บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๘
ที่มา: .เฉลิมชัย   มอญสุขำ.สรุปฟิสิกส์ม.ปลาย.หลักการเขียนทางเดินของรังสีแสง เพื่อหาตำแหน่งภาพสำหรับเลนส์เว้า.บริษัท สำนักพิมส์เดอะบุคส์ จำกัด
 หน้า ๑๔๙-๑๕0
สาระสำคัญ

1) เขียนรังสีจากปลายวัตถุขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญไปตกกระทบตรงกลางเลนส์ แล้วลากรังสีหักเหย้อนกลับผ่านจุดโฟกัส (F)
2) เขียนรังสีจากปลายวัตถุที่ไม่ขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญ ผ่านจุดศูนย์กลางเลนต์ (o) รังสีจะผ่านเลนต์ออกไปในแนวเดิม (ไม่หักเห)
3) รังสีจากข้อ 1) และข้อ 2)  ตัดกันเกิดภาพ ดังรูป





บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๘
ที่มา: . ไทนี่  อนรรฆสันต์.เคมีทีเด็ด.ทำไมผลไม้ดิบจึงมีรสฝาด.นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ หน้า ๑-

สาระสำคัญ


เมื่อกินผลไม้ดิบๆเราจะรู้สึกว่ามันมีรสฝาดสาเหตุที่ผลไม้มีรสฝาดเนื่องจากในผลไม้มีสารที่ชื่อว่าแทนนิน (tannin) ซึ่งเป็นสารที่ระลายน้ำได้ดังนั้นเมื่อสารชนิดนี้เจอกับน้ำลายในปากจึงละลายเกิดเป็นรสฝาดแต่ทำไมผลไม้ที่เรานำไปอบแห้งกลับไม่มีรสฝาดล่ะนั่นเป็นเพราะการอบแห้งเราต้องใช้อุณหภูมิสูงทำให้ความชื้นในผลไม้ระเหยออกมาพร้อมกับแทนนินผลไม้อบแห้งจึงไม่มีรสฝาด

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๔ เดือน พฤจิกายน   พ.ศ.  ๒๕๕๘
ที่มา: รองศาสตราจารย์ชัชวาล เรืองประพันธ์.สถิติพื้นฐาน.ความรู้เบื้องต้นทางสถิติ
 .หจก.ขอนแก่นการพิมพ์ ๒๕๔๓
หน้า ๑-

สาระสำคัญ

                                                                         ความรู้เบื้องต้นทางสถิติ
๑.๑ ความหมายของสถิติ
สถิติหมายถึง ข้อมูลตัวเลขที่ได้จากการรวบรวมตัวของตัวเลขหลายตัว เช่น ปริมาณน้ำฝน จำนวนนักท่องเที่ยวสถิติแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
๑. สถิติพรรณนา หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลหรือนำเสนอด้วยการบรรยาย ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ
๒.สถิติอนุมานหมายถึง วิชาสถิติที่ว่าด้วยการสรุปของข้อเท็จจริงของข้อมูลทั้งหมด ในลักษณะของการประมาณค่า และการทดลอบสมมุติฐาน
๑.๒ ข้อมูล
ข้อมูลคือข้อเท็จจริงต่างๆซึ่งอาจเป็นตัวเลขหรือไม่ก็ได้
๑.๓ แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลมี ๒ ประเภท
๑.แหล่งปฐมภูมิ ได้แก่แหล่งต้นต่อของข้อมูลโดยตรง
๒.แหล่งทุติยภูมิ ได้แก่แหล่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆไว้แล้ว
๑.๔ การแจกแจงเชิงคุณภาพ
มีการนำเสนอได้ ๓ วิธี
๑.การนำเสนอด้วยตาราง
๒.การนำเสนอด้วยกราฟเส้น
๓.การนำเสนอด้วยแผนภูมิ