วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการอ่น

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.๒๕๕๙
ทีมา:แพทย์หญิงกุสุมาวดี  คำเกลี้ยง.สุขศึกษา.ระบบประสาท.บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. 
 หน้า ๔-๗
สาระสำคัญ
 ระบบประสาท
 ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย หลังจากที่รวมรวมข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับระบบต่างๆของร่างกาย ก็จะ มีการวิเคราะห์ และสั่งการให้มีการตอบสนองที่เหมาะสมเพื่อรักษาสมดุลต่างๆของร่างกาย ตอบสนองต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งความต้องกายที่สำคัญที่สุดของร่างกายคือเพื่อให้ตัวเอง อยู่รอด
หน้าที่ของระบบประสาทมี 4 ประการ
1.             รวบรวมข้อมูล ทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย (sensory function)
2.             นำส่งข้อมูลไปยังระบบประสาทกลางเพื่อทำการวิเคราะห์
3.             วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้มีการตอบสนองที่เหมาะสม (integrative function)
4.             สั่งงานไปยังระบบต่างๆเช่น กล้ามเนื้อ ต่อม หรืออวัยวะอื่นๆให้มีการตอบสนองที่ เหมาะสม (motor function)

ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.             ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system – CNS) ประกอบไปด้วยสมองและไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord) มีหน้าที่นำส่งข้อมูลจากร่างกายไปยังสมอง สมองทำหน้าที่แปลผลและ วิเคราะห์ข้อมูล และสั่งงานผ่านทางไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
2.             ระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system- PNS) ประกอบด้วยเซลล์ประสาท (neuron)ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากร่างกาย และนำส่งไปยังระบบประสาทส่วนกลางเรียกว่า afferent neurons และตัวที่นำส่งข้อมูลจาก CNS ไปยังที่ต่างๆเรียกว่า efferent neurons



บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.๒๕๕๙
ทีมา:สสวท..ชีววิทยา.อาณาจักรฟังไจ.สกสค.ลาดพร้าว. 
 หน้า ๖๑-๖๕
สาระสำคัญ

          ฟังไจ (fungi) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (Eukaryote) ที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ จัดเป็นเฮเทอโรโทรฟ(Heterotroph) ซึ่งต้องการสารอินทรีย์เป็นอาหาร ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นแซโพรไฟต์ (Saprophytism) ย่อยสลายสารอินทรีย์
ที่เน่าเปื่อยให้เป็นสารโมเลกุลเล็กลง จึงมีความสำคัญในอุตสาหกรรมการหมัก เช่น การทำเบียร์ ไวน์ การทำสารปฏิชีวนะ
เป็นต้น บางพวกทำให้เกิดโรคกับพืช สัตว์และคน และยังใช้เพื่อการศึกษาทางด้านสรีรวิทยา พันธุศาสตร์ ชีวเคมี อีกด้วย
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา เรียกว่า วิทยาเห็ดรา หรือ ราวิทยา หรือ กิณวิทยา (Mycology)
ลักษณะที่สำคัญของฟังไจ
ฟังไจเป็นยูคาริโอต ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตแบบแอโรบิค (Aerobic) หรือแฟคัลเททีฟแอนแอโรบิค (Facultative
anaerobic) มีลักษณะเป็นทัลลัส (thallus) อาจเป็นเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ แต่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์มาต่อกันเป็น
เส้นสายยาว มีผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) หรือไคทิน (Chitin) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทัง้ สองอย่าง และมีสปอร์เพื่อการสืบพันธุ์
การเจริญของฟังไจ
เสนใยของฟงั ไจมีการเจริญได้สองทิศทาง ในตามขวางจะเจริญไปอย่างเต็มที่แล้วจึงหยุดเจริญ ส่วนการเจริญตามยาว
ของเส้นใยจะขยายยาวออกไปและแตกแขนงอย่างไม่จำกัดตราบเท่าที่สภาวะแวดล้อมยังเหมาะสม ฟังไจบางชนิดจะมี
การเจริญเติบโตของเส้นใยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เมตร




บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.๒๕๕๙
ทีมา:เอธ แย้มประทุม.เจาะจุดแข็ง.เจาะจุดแข็ง.เนชั่นบุ๊คส์, สนพ. 
 หน้า ๑-๑0
สาระสำคัญ
    จุดแข็ง สร้างมาจาก = ความรู้ (ข้อมูล & ประสบการณ์) + ทักษะ + พรสวรรค์
คนเราควรสร้างจุดแข็งที่ใช้พรสวรรค์หรือความถนัดเฉพาะตัวของเราด้วย เพราะถึงแม้เราอยากจะฝึกฝนทักษะบางอย่าง แต่ถ้ามันไม่ใช่ธรรมชาติของเราแล้ว เราก็อาจจะทำได้ไม่ดีเลิศอยู่ดี 
โดยที่เราจะสามารถสังเกตสิ่งที่น่าจะเป็นพรสวรรค์ของเราได้ดังนี้
1        1.    ความปรารถนาอันแรงกล้า (อยากจะทำสิ่งนั้นมากๆ )
2       2.การเรียนรู้ได้เร็ว (ทำแล้วไปเร็ว เรียนรู้เร็วกว่าคนอื่น)
3     3.ความพึงพอใจ (ทำแล้วมีความสุข)
พรสวรรค์ 36 ประการ
ผู้สร้างความสำเร็จ Achiever
ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้สร้างความสำเร็จจะทำงานหนักและมีพลังอดทนสูง คนเหล่านี้มีความสุขกับการได้ทำสิ่งต่างๆ ตลอดเวลาและสร้างสรรค์ผลงานอยู่เสมอ
นักริเริ่มทำงาน Activator
ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นนักริเริ่มทำงานสามารถที่จะผันความคิดมาเป็นการกระทำเพื่อบันดาลให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น คนเหล่านี้มักจะใจร้อน
การปรับตัว Adaptability
ผู้ที่มีคุณสมบัติของการปรับตัวจะต้องการ ทำตัวให้สอดคล้องไปกับเหตุการณ์คนเหล่านี้มักจะมีชีวิตอยู่กับ ปัจจุบันโดยตอบสนองต่อสถานการณ์และค้นพบสิ่งที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน
ช่างวิเคราะห์ Analytical
ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นช่างวิเคราะห์จะค้นหาสาเหตุและพิสูจน์เหตุผล คนเหล่านี้มีความสามารถในการมองเห็นปัจจัยทุกๆ ด้านที่อาจมีผลกระทบต่อสถานการณ์
นักจัดการ Arranger
ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นนักจัดการมีความสามารถในการจัดการสิ่งต่างๆ ควบคู่ไปกับความสามารถในการปรับเปลี่ยนพลิกแพลง คนเหล่านี้ชอบคิดหาวิธีการที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยทรัพยากรและสิ่งละอันพันละน้อยทั้งหมดที่มีอยู่
ความเชื่อ Belief
ผู้ที่มีคุณสมบัติความเชื่อจะมีค่านิยมพื้นฐานบางประการที่มั่นคงไม่มีวัน เปลี่ยนแปลง และจะกำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตโดยอาศัยค่านิยมเหล่านี้
บัญชาการ Command
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการบัญชาการจะชอบปรากฏตัวนำหน้า และสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์พร้อมทั้งทำหน้าที่ตัดสินใจได้อย่างดี
การสื่อสาร Communication
ผู้ที่มีคุณสมบัติของการสื่อสารจะสามารถแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นคำพูดได้โดยง่าย คนเหล่านี้เป็นนักสนทนาและพิธีกรที่ดี
การแข่งขัน Competition
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการแข่งขันจะวัดความก้าวหน้าของตนกับผลงานของผู้อื่น คนเหล่านี้จะพยายามมาเป็นที่หนึ่งและชอบการแข่งขันสูง
ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง Connectedness
ผู้ที่มีคุณสมบัติความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงจะมีความเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งในโลก นี้สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน และเชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุผล มีเพียงไม่กี่เหตุการณ์เท่านั้นที่เกิดขึ้นเพราะเหตุบังเอิญ
การคำนึงถึงสิ่งรอบข้าง Context
ผู้ที่มีคุณสมบัติของการคำนึงถึงสิ่งรอบข้างจะชอบคิดถึงอดีต และเข้าใจเหตุการณ์ในปัจจุบันโดยศึกษาค้นคว้าถึงประวัติที่มาของมัน
ระมัดระวัง Deliberative
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการระมัดระวังจะเอาจริงเอาจังในการตัดสินใจและการเลือก สรรสิ่งต่างๆ คนเหล่านี้จะเตรียมตัวพร้อมเพื่อรับมือกับอุปสรรคอยู่เสมอ
นักพัฒนา Developer
ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นนักพัฒนาจะมองเห็นและช่วยสร้างเสริมความสามารถที่ซ่อน อยู่ในตัวผู้อื่น คนเหล่านี้จะเล็งเห็นสัญญาณแห่งการเติบโตแม้เพียงเล็กน้อย และพอใจกับความก้าวหน้าเหล่านี้
ระเบียบวินัย Discipline
ผู้ที่มีคุณสมบัติแห่งระเบียบวินัยจะชอบโครงสร้างและภาระงานประจำ ความเป็นระบบระเบียบที่คนเหล่านี้กำหนดขึ้นมาบ่งบอกถึงโลกของพวกเขาได้ดีที่ สุด
ความเห็นอกเห็นใจ Empathy
ผู้ที่มีคุณสมบัติความเห็นอกเห็นใจจะสามารถรู้สึกได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของ คนอื่นๆ โดยจินตนาการถึงตนเองในสภาพชีวิตหรือสถานการณ์ของผู้อื่น
ความยุติธรรม Consistency
ผู้ที่มีคุณสมบัติความยุติธรรมจะตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติต่อ ผู้อื่นให้เท่าเทียมกัน และพยายามปฏิบัติต่อทุกคนในโลกอย่างยุติธรรม โดยกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนขึ้นมาและดำเนินการตามกฎระเบียบเหล่านั้น
เป้าหมายชัดเจน Focus
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการมีเป้าหมายชัดเจนจะสามารถกำหนดแนวทางและดำเนินการ ติดตามจนบรรลุเป้าหมาย และคอยแก้ไขประคับประคองมิให้ออกนอกลู่นอกทาง พวกเขาจะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำแล้วจึงลงมือ
อนาคต Futuristic
ผู้ที่มีคุณสมบัติแห่งอนาคตจะอาศัยอนาคตและสิ่งที่อาจเกิดขึ้นเป็นแรงบันดาล ใจ วิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของพวกเขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น
ความกลมเกลียว Harmony
ผู้ที่มีคุณสมบัติความกลมเกลียวจะมองหามติอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน คนเหล่านี้ไม่ชอบความขัดแย้ง และจะพยายามมองหาความคิดเห็นซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกคน
ความคิด Ideation
ผู้ที่มีคุณสมบัติความคิดจะสนอกสนใจกับความคิด และสามารถค้นพบความเกี่ยวเนื่องระหว่างปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนจะแตกต่างกัน
ต้อนรับ Includer
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการต้อนรับจะยอมรับผู้อื่น รับทราบถึงความรู้สึกของคนที่มิได้รับเชิญให้เข้ามามีส่วนร่วม และพยายามนำคนเหล่านั้นเข้ามาร่วมในกลุ่ม
ความเป็นปัจเจกบุคคล Individualization
ผู้ที่มีคุณสมบัติความเป็นปัจเจกบุคคลจะสนอกสนใจคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว ต่างๆ ของแต่ละบุคคล และมีพรสวรรค์ในการคิดหาวิธีการนำผู้คนที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ป้อนข้อมูล Input
ผู้ที่มีคุณสมบัติของการป้อนข้อมูลจะกระหายใคร่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา พวกเขามักจะสะสมและจัดเก็บบันทึกข้อมูลทุกชนิด
นักคิด Intellection
ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นนักคิดจะชอบทำกิจกรรมที่ใช้สมองและความคิด คนเหล่านี้ชอบมองย้อนดูตัวเองและสนุกกับการสนทนาที่ได้ใช้ความคิดและมีสาระ
ใฝ่รู้ Learner
ผู้ที่มีคุณสมบัติของการใฝ่รู้มีความปรารถนาที่แรงกล้าในการเรียนรู้และต้อง การปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา กระบวนการเรียนรู้เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผลลัพธ์สำหรับคนเหล่านี้ โดยเฉพาะ
ความเป็นเลิศ Maximizer
ผู้ที่มีคุณสมบัติความเป็นเลิศจะเน้นความสามารถเฉพาะตัวเพื่อผลักดันให้ กลุ่มหรือคนๆ หนึ่งบรรลุถึงความเป็นเลิศเป็นสำคัญ และพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้กลายเป็นสิ่งที่เยี่ยมยอด
มองโลกในแง่ดี Positivity
ผู้ที่มีคุณสมบัติการมองโลกในแง่ดีจะมีพลังกระตือรือร้นที่ติดต่อไปถึงคน อื่นๆ คนเหล่านี้จะรื่นเริงและสามารถทำให้ผู้อื่นรู้สึกตื่นเต้นไปกับสิ่งที่กำลัง จะทำ
สร้างสัมพันธ์ Relator
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการสร้างสัมพันธ์ชอบความใกล้ชิดสนิทสนมกับคนอื่นๆ และมีความพอใจที่ลึกซึ้งในการทำงานหนักร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย
การมีความรับผิดชอบ Responsibility
ผู้ที่มีคุณสมบัติการมีความรับผิดชอบมีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขารับ ปากว่าจะทำ คนเหล่านี้ยึดมั่นในค่านิยมที่มั่นคง เช่น ความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดีโดยไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ปรับปรุงแก้ไข Restorative
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงแก้ไขจะมีความชำนาญในการจัดการกับปัญหา คนเหล่านี้สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผิดพลาดและแก้ไขให้ถูกต้อง
ความเชื่อมั่นในตนเอง Self-Assurance
ผู้ที่มีคุณสมบัติความเชื่อมั่นในตนเองจะรู้สึกมั่นใจในความสามารถที่จะควบ คุมชีวิตของตนเอง คนเหล่านี้มีเข็มทิศชี้ทางในตัวที่ทำให้มั่นใจถึงความถูกต้องในการตัดสินใจ ของตนเอง
ความสำคัญ Significance
ผู้ที่มีคุณสมบัติแห่งความสำคัญต้องการที่จะให้ผู้อื่นมองเห็นคุณค่าของตนเองอย่างยิ่ง พวกเขารักอิสระและปรารถนาให้ตนเองเป็นที่ยอมรับ
เจ้ากลยุทธ์ Strategic
ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นเจ้ากลยุทธ์จะสร้างสรรค์วิธีการใหม่ในการเดินรุดหน้า เมื่อต้องทำโครงการใดก็ตาม พวกเขาจะสามารถมองเห็นรูปแบบและปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทันที
ชนะใจ Woo
ผู้ที่มีคุณสมบัติการชนะใจจะรักความท้าทายในการพบปะผู้คนใหม่ๆ และทำให้คนเหล่านั้นชอบตน พวกเขามีความสุขในการทำความรู้จักและสร้างเครือข่ายการติดต่อสัมพันธ์กับผู้ อื่น

บันทึกการอ่าน

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.๒๕๕๙
ทีมา:สำราญ    พฤกษ์สุนทร.เคมี.เอนไซม์ (Enzyme).บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนาจำกัด. 
 หน้า ๓๕๒-๓๕๕
สาระสำคัญ

     เอนไซม์ (Enzyme)
     เอนไซม์ (Enzyme) เอนไซม์เป็นสารโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ที่มีลักษณะเป็นก้อน เอนไซม์บางชนิดประกอบด้วยพอลิเพปไทด์เพียงสายเดียส บางชนิดประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หลายสาย และมักมีไอออนของโลหะหรือโมเลกุลที่ไม่ใช่โปรตีนอยู่ด้วย เอนไซม์อาจมีมวลโมเลกุล ๑๐๐๐๐ ถึงมากกว่า ล้านและมีสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหรือคะตะลิสต์คือเอนไซม์ช่วยลดพลังงานก่อกัมมันต์ทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น เช่น การสลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โมลให้เป็นน้ำและออกซิเจนมีพลังงานก่อกัมมันต์ ๗๒. KJ ถ้ามีเหล็กเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะมีพลังงานก่อกัมมันต์ ๕๔.๓๔ KJ แต่ถ้าใช้เอนไซม์คะตะเลสจากตับ พลังงานก่อกัมมันต์จัลดลงเหลือเพียง ๒๐. KJ
             
   การทำงานของเอนไซม์ เอนไซม์เร่งปฎิกิริยาให้เร็วขึ้นโดยเอนไซม์จับกับสารตั้งต้นที่เรียกว่า สับสเตรตกลายเป็นสารเชิงซ้อนที่เรียกว่า เอนไซม์สับสเตรตคอมเพล็กซ์ ทำให้มีการแปลสภาพของสับสเตรด เช่น มีการสลายพันธะหรือการสร้างพันธะของสับสเตรตข้นมาไหม่ แล้วเกิดสารผลิตภัณฑ์ข้น โดยที่โครงสร้างของเอนไซม์ไม่เปลี่ยนแปลงบริเวณของเอนไซม์ที่จับกับสับสเตรตเรียกว่า บริเวณเร่ง